เมนู

รายละเอียด วงจรชีวิตปลวก

 1.ประกอบด้วยวงจรชีวิตปลวก

 ปลวกแม่รังหรือนางพญาราชินีและปลวกพ่อรังราชา  เป็นปลวกที่มีปีกอวัยวะเพศและตารวมที่เจริญดี ใน 1 รังละมีราชินีรังเพียง 1 ตัวแต่อาจมีพ่อรังได้หลายตัวราชินีรังและราชารังจะอาศัยอยู่ในโพรงนางพญา (hollow  royal  chamber)  ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของรังเพื่อปกป้องราชินีและรังราชินีรังมีขนาดใหญ่บางชนิดมีอายุนานหายปีในช่วงฤดูฝนจะมีการผลิตปลวกวรรณะสืบพันธุ์ที่เราเรียกกันว่าแมลงเม่า ออกมานับพันตัวเพื่อให้บินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์เมื่อผสมพันธุ์เสร็จจะสลัดปีกทิ้งและเดินตามกันเพื่อหาช่องว่างหรือรอยแตกภายในดินหลังจากนั้นจะวางไข่และสร้างรังใหม่ต่อไป ซึ่งในการวางไข่ครั้งแรกนี้จะสามารถวและแม่รังจะช่วยกันเลี้ยงดูตัวอ่อนจนเป็นตัวเต็มวัยซึ่งทำหน้าที่เป็นปลวกงานรุ่นแรกเมื่อวางไข่ครั้งแรกแล้วางไข่ได้น้อยมากประมาณ 100/300 กว่าฟองและจะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 3/7 วันทั้งพ่อรังส่วนท้องของแม่รังตัวใหม่นี้จะขยายใหญ่ขึ้นหลายเท่าจากเดิมเพื่อผลิตไข่ให้ได้มากขึ้นแม่รังที่สมบูรณ์จะสามารถวางไข่ได้1000 /3,000 ฟองต่อวันปลวกในแอฟริกามีเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว 1/3 และมีความยาว 7/10 สามารถวางไขถึง10,000ต่อวัน ทำให้ต้องมีปลวกงานคอยรับใช้  คอยป้อนอาหาร  ทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลาแม่รังจะปล่อยฟีโรโมนเพื่อควบคุมการทำงานของวรรณะอื่นๆ ทั่วทั้งรัง ให้เกิดการแบ่งงานเป็นปลวกพ่อรังจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากผสมพันธุ์กับปลวกแม่รัง และจะยังผสมพันธุ์ได้อีกหลายครั้งตลอดชีวิต นี่เป็นอีกข้อแตกต่างหนึ่งที่แตกต่างจากมด เพราะมดตัวผู้จะมีชีวิตได้อีกไม่นานหลังจากผสมพันธุ์และสามารถผสมพันธุ์ได้เพียงไม่กี่ครั้งแล้วก็จะตายไปไนที่สุด

2.สืบพันธุ์รอง ประกอบด้วย

ปลวกที่มีปีกสั้นมากตารวมขนาดเล็กหรือบางทีอาจเป็นปลวกที่ไม่มีปีกมีลำตัวขาวซีดดูคล้ายปลวกงานทำหน้าที่ทดแทนแม่รังในการแพร่พันธุ์หาช่องว่างหรือรอยแตกภายในดินหลังจากนั้นจะวางไข่และสร้างรังใหม่ต่อไป

3.ปลวกงานประกอบด้วย

ปลวกตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่เป็นหมันมักไม่มีตารวม กรามมีขนาดเล็กและไม่มีปีกลำตัวอ่อนนุ่มขาวซีดมองดูคล้ายมดเรียกปลวกงานเป็นวรรณะแรงงานหลักของรัง ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและป้อนอาหารให้

ตัวนางราชินีปลวกหรือตัวอ่อน 

ปลวกทหาร และปลวกตัวอ่อนที่เกิดใหม่  ทำความสะอาดระหว่างปลวกงานด้วยกันเอง ตลอดจนถึงการซ่อมแซมและต่อเติมรังใหม่  ตลอดจนถึงทางเดินภายในรัง  รวมถึงการเพาะเลี้ยงเป็นอาหาร

1.ประโยชน์และโทษของปลวก ปลวกมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นผู้ย่อยสลายเศษไม้ ใบไม้ ต่างๆ 

 ให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน  ในแอฟริกาใช้ปลวกทหารในการรักษาแผลอักเสบ ใช้ปลวกแม่รังเป็นยาบำรุงเพศ  ดินจากจอมปลวกสามารถพอกรักษากระดูก นอกจากนี้ยังสามารถรักษาคางทูม และโรคอีสุกอีไส แต่อย่างไรก็ตามปลวกจัดว่าเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจอย่างสูงคาดว่าประมาณ 7/15ของปลวกที่มนุษย์รู้จักทั้งหมด ปลวกสามารถ ทำลายไม้ยืนต้น  ไม้ซุง  ไม้ยืนต้น ไม้แปรรูป มีเทนซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก  ประวัติเชิงวิวัฒนาการ เชื่อกันว่าปลวกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแมลงสาบและตั๊กแตนตำข้าว ถูกจัดรวมกันใน   ปลวกเกิดในมหายุค โดยคาดว่ามีวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษที่มีลักษณะคล้ายแมลงสาบ เนื่องจากปลวกและแมลงสาบมีความเหมือนกันหลายๆอย่าง เช่น พบว่าแมลงสาบบางชนิดกินไม้ผุๆ เป็นอาหาร  อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม  โดยมีทุกวัยอยู่ด้วยกัน และยังมีโปรโตซัวบ้างชนิดอยู่ในทางเดินอาหารเพื่อช่วยย่อยเซลลูโลสในเยื่อไม้  โปรโตซัวที่พบในแมลงสาบชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับชนิดที่พบในปลวกโบราณ    มีการค้นพบว่ามีแบคทีเรียในทางเดินอาหารของแมลงสาบในสกุล    มีประวัติของเผ่าพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับที่พบในปลวกมากกว่าแมลงสาบชนิดอื่นๆ  อีกทั้งแมลงสาบในสกุลนี้ยังมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการมีพฤติกรรมเป็นแมลงสังคมอีกด้วย 

แมลงเม่า (alates) คือปลวกในวรรณะสืบพันธุ์ที่โตเต็มที่โดยมีปีกยาวเลยลำตัวออกมา เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ปลวกหนุ่มสาวที่มีปีกภายในจอมปลวกจะพากันบินออกมาจากรังมารวมหมู่เพื่อเลือกคู่ครอง พอจับคู่กันได้หนึ่งต่อหนึ่ง ก็ชักชวนกันไปหาทำเลอันเหมาะสม จัดการสลัดปีกทิ้งผสมพันธุ์กันแล้วมุดลงสู่พื้นดิน หลังจากนั้นแมลงเม่าสองตัวก็จะกลายสภาพเป็นราชาและราชินีปลวก รานิชีเริ่มต้นขบวนการวางไข่อย่างต่อเนื่องทันทีหลังการผสมพันธุ์ โดยมีราชาคอยผสมพันธุ์ โดยมีราชาคอยผสมพันธุ์ให้เป็นระยะ ๆ นับจากนี้เธอจะกลายเป็นนางพญาปลวก คอยทำหน้าที่วางไข่สร้างประชากรไปตลอดชั่วชีวิต เมื่อเวลาผ่านไปรูปร่างของนางพญาจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คือ ส่วนท้องจะขยายใหญ่ขึ้นตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนไข่ที่ต้องวางเพิ่ม เมื่ออายุ 10 ปี ขึ้นไปรูปร่างของนางพญาจะมองดูคล้ายหนอนยักษ์ตัวอ้วนพองที่เคลื่อนที่ไปไหนไม่ได้อีกต่อไป ประมาณกันว่านางพญาปลวกสามารถวางไข่ได้ 14 ฟอง ในทุก 3 วินาที ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนเธอจึงมีลูกจำนวนมหาศาล ประชากรปลวกรุ่นใหม่เหล่านี้เองที่ช่วยกันสร้างอาณาจักรใหม่อย่างแข็งขันการสร้างจอมปลวกเริ่มขึ้นโดยเหล่าปลวกงานจะช่วยกันกัดดินและขนดินมาทีละก้อน แล้วใช้น้ำลายเป็นตัวเชื่อมติด พวกมันค่อย ๆ สร้างผนังจอมปลวกแน่นหนาขึ้นทีละน้อยอย่างอดทน โดยมีปลวกทหารคอยทำหน้าที่อารักขาความปลอดภัยให้ ศัตรูสำคัญของปลวกทหารคือมดพันธุ์ต่าง ๆ ที่ชอบเข้ามารุกรานถึงภายในจอมปลวก เมื่อปราศจากการรบกวนปลวกงานจะสร้างห้องหับต่าง ๆ อย่างเป็นระบบเริ่มตั้งแต่ตำหนักของนางพญาที่จะต้องแข็งแกร่งเป็นพิเศษและซ่อนอยู่มิดชิดที่สุดภายในรัง แล้วจึงสร้างห้องเก็บรักษาไข่เพื่อบ่มฟักตัวอ่อน ซึ่งมันจะต้องขนไข่ออกจากตำหนักของนางพญามาจัดเก็บให้เป็นระเบียบอยู่เสมอเสร็จจากนั้นปลวกงานส่วนหนึ่งทำการขุดช่องระบายอากาศเพื่อให้ภายในจอมปลวกเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งขุดอุโมงค์ใต้ดินสู่ภายนอกเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการออกไปหาเสบียงอันได้แก่เศษไม้เป็นหลัก ความจริงปลวกไม่สามารถย่อยไม้ได้เองอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นโปรโตซัวซึ่งอาศัยอยู่ในกระเพาะของมันต่างหากที่ช่วยย่อยเซลลูโลสให้กลายเป็นสารอาหาร ปลวกงานจะนำเชื้อราที่ได้จากการย่อยมาสร้างเป็นสวนเห็ดขึ้นภายในจอมปลวกเพื่อลดภาระในการออกตระเวนหาอาหารจะเห็นว่าปลวกงานมีหน้าที่หนักที่สุดในบรรดาปลวกทั้ง 3 วรรณะ ปลวกงาน จึงมีประชากรมากที่สุด ทั้งนี้นางพญาจะมีฮอร์โมนสังคม

วิธีป้องกันกำจัดปลวก

ข้อควรระวังและข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดปลวก

 

การป้องกันกำจัดในอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้ว

ขั้นตอนนี้ จะค่อนข้างยุ่งยากในการปฏิบัติมากกว่าการป้องกันก่อนการปลูกสร้างอาคารมากจำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการโดยเฉพาะมาดำเนินการสำรวจการเข้าทำลายอย่างถี่ถ้วน แล้ววางแผนถึงวิธีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดในแต่ละจุดให้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามในการป้องกันกำจัดในระยะหลังการปลูกสร้างนี้ จะหวังเต็มที่ 100% ไม่ได้ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของโครงสร้างอาคารโดยทั่วไป มักมีจุดยากแก่การสำรวจซึ่งปลวกอาจหลบซ่อนอยู่ภายในส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโดยที่เราสำรวจไม่พบ นอกจากนี้โครงสร้างของอาคารบางส่วนอาจเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกำจัดในจุดที่จำเป็นได้เช่นกัน

 

จุดสำคัญๆ ของโครงสร้างอาคารที่ควรจะต้องคำนึงถึงในการใช้สารเคมี

1.      บริเวณขอบบัวของพื้นอาคารและพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพะตามมุห้องต่างๆ บริเวณพื้นใต้บันได  ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายเป็นเวลานานๆ

2.       บริเวณท่อระบายน้ำทิ้งและท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้ เป็นจุดหนึ่งที่ปลวกทำทางเดินจากพื้นดินขึ้นไปตามขอบท่อ ในการใช้สารกำจัดปลวกจำเป็นต้องมีการเจาะผนังช่องว่างดังกล่าวด้วยสว่านไฟฟ้า แล้วอัดน้ำยาเคมีเข้าไปเพื่อทำลายรังภายในไม่ให้ปลวกเข้าไปอาศัยหรือทำทางเดินขึ้นไปได้อีก

3.        บริเวณรอยแตกของเสาไม้ ผนัง หรือพื้นคอนกรีต จำเป็นต้อนใช้เข็มฉีดยาฉีดอัดน้ำยาป้องกันกำจัดปลวกเข้าไปในแต่ละจุด เพื่อไม่ให้ปลวกแรกผ่านเข้ามาได้

4.        บริเวณช่องเพดาน และฝาสองชั้น ที่มักจะบุด้วยไม้อัด หรือใช้ไม้เนื้ออ่อนและมักจะถูกปลวกเข้าทำลายอยู่ภายใน หรือ บางครั้งจะทำรังอาศัยอยู่ภายในช่องว่างของผนังดังกล่าวจุดเหล่านี้จำเป็นต้องใช้สว่านเจาะไม้เจาะเป็นรูทุกระยะ 1 ฟุต ตามแนวคร่าว เพื่อฉีดพ่นน้ำยาเคมีเข้าไปให้ทั่วถึงในบางจุดอาจใช้ยาผงหรือฉีดพ่นได้ สำหรับการใช้สารกำจัดปลวกในโครงสร้างที่เป็นไม้นั้น หากใช้ตัวทำลายที่เป็นน้ำมัน เช่น น้ำมันก๊าด หรือน้ำมันซักแห้ง แทนน้ำจะช่วยให้การแพร่กระจายและการแทรกซึมของตัวยาเข้าไปในเนื้อไม้เป็นไปได้ดีขึ้น

5.       พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต จำเป็นจะต้องใช้สว่านไฟฟ้าเจาะคอนกรีต ขนาด 3-4 หุนเจาะพื้นอาคารให้ทะลุถึงพื้นดิน โดยเฉพาะตามบริเวณแนวคานคอดินทั้งด้านนอก ด้านใน และรอบๆเสาโดยเว้นระยะห่างทุกๆ 1 เมตรและพื้นที่ภายใต้อาคารทั้งหมดในระยะทุกๆ1 ตารางเมตร เพื่อฉีดพ่นหรืออัดน้ำยาลงไปในดินในอัตตราส่วนน้ำยาผสม 5 ลิตร ต่อทุกๆ 1 ตารางเมตรโดยอาจใช้อุปกรณ์เครื่องพ่นยาแรงสูง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และการกระจายของน้ำยาได้อย่างสม่ำเสมอทั่วถึง ลักษณะของหัวฉีดที่ใช้ฉีดพ่นน้ำยาจะต้องมีรูเปิด 4 รู เพื่อให้น้ำยาไหลออกมาได้รอบทิศทาง

กำจัดปลวก เทอร์ไมท์ ไรเดอร์ส
X